อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมถุงมือยาง

อุตสาหกรรมถุงมือยางเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละ 20,000 ล้านบาท ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกถุงมือยางมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 13.7    

การผลิตถุงมือยางในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา จากเดิมที่ต้องนำเข้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับคุณภาพของถุงมือยางในประเทศยังไม่เป็นที่ยอมรับเท่ากับถุงมือยางที่ผลิตจากต่างประเทศ  ต่อมารัฐบาลให้การสนับสนุนลงทุนอุตสาหกรรมถุงมือยาง จึงมีผู้ประกอบการจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะจากประเทศมาเลเซีย และได้นำเทคโนโลยีการผลิตถุงมือยางเข้ามาด้วย ส่งผลให้ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา  ประเทศไทยสามารถผลิตถุงมือยางเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้มากขึ้น ประกอบกับมีความต้องการของตลาดต่างประเทศสูงขึ้นมาก สาเหตุมาจากปัญหาโรคเอดส์เริ่มระบาด จึงส่งผลดีต่อการส่งออกดังกล่าว

การผลิต

อุตสาหกรรมถุงมือยาง เป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตจำนวนมากราย และร้อยละ 90 ของการผลิตเป็นการผลิตเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าของลูกค้า  และในปัจจุบันมีโรงงานผลิตถุงมือยางประมาณ 20 โรงงานทั่วประเทศไทย

ผู้ผลิตถุงมือยาง สามารถแบ่งกลุ่มการผลิตได้เป็น 2 กลุ่ม คือ โรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการลงทุนโดยบริษัทข้ามชาติ ที่ต้องใช้เงินในการลงทุนจำนวนสูง และโรงงานขนาดย่อมและขนาดกลาง ซึ่งเป็นกิจการที่ลงทุนโดยคนไทยหรือเป็นการร่วมทุนกับชาวต่างชาติ เช่น ประเทศไต้หวัน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เป็นต้น

วัตถุดิบ

วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตถุงมือยาง คือ น้ำยางข้น  แต่อย่างไรก็ตามในช่วงระยะเวลา 4 ถึง 5 ปีที่ผ่านมา ราคาของน้ำยางข้นก็ยังคงผันผวน ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 มีการเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตจากยางพาราเป็นยางสังเคราะห์ และในปี พ.ศ. 2552 มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดโดยมีการใช้ยางสังเคราะห์เป็นวัตถุดิบในการผลิตกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากราคายางพาราที่ราคาแพงมากเกินไป โรงงานผลิตจึงต้องปรับสูตรในการผลิตใหม่ แต่ยังคงใช้เครื่องจักรในการผลิตเหมือนเดิม  และหากว่าราคายางพาราเพิ่มราคาสูงขึ้นไปอีก  จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมถุงมือยางเป็นอย่างมาก  และในปี พ.ศ. 2553 ราคาน้ำยางข้นที่ตลาดกรุงเทพมหานคร  77.98 บาท (เดือนเมษายน พ.ศ. 2553)

ขั้นตอนการผลิต

วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตถุงมือยาง คือ น้ำยางข้น และสารเคมีที่ช่วยให้น้ำยางจับตัว ซึ่งกรรมวิธีในการผลิตเริ่มจากการนำน้ำยางข้นไปปรับสภาพเพื่อให้ได้ส่วนประกอบของเนื้อยางร้อยละ 60  หลังจากนั้นจะผสมสารเคมีต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น โปแตสเซียมไฮด็อกไซด์  ไปแตสเซียมคลอเรต  กำมะถัน สารป้องกันยางเสื่อม ซิงค์อ็อกไซค์ เป็นต้น เพื่อให้น้ำยางอยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการขึ้นรูปเป็นถุงมือยาง หลังจากนั้นจะใช้วิธีการจุ่ม คือ นำพิมพ์ที่ทำจากพลาสติก โลหะหรือเซรามิค จุ่มลงในสารละลายที่ช่วยให้น้ำยางจับตัวก่อน เมื่อยกพิมพ์ขึ้นและรอให้แห้งหมาดๆ สารละลายที่ช่วยให้น้ำยางจับตัวจะเกิดเป็นฟิล์มบางๆ จับตัวเกาะอยู่ที่พิมพ์ และเมื่อนำพิมพ์ไปจุ่มในน้ำยางที่ผสมสารเคมีแล้ว ให้ยกพิมพ์ขึ้นช้าๆ ฟิล์มยางจะเคลือบพิมพ์ จากนั้นนำไปอบให้คงรูปในตู้อบที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที  สำหรับประเภทของถุงมือยาง แบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ

  • ถุงมือยางสำหรับใช้ในทางการแพทย์ (Medical Glove) 
  • ถุงมือยางสำหรับใช้ในครัวเรือน (Household Glove) เป็นถุงมือยางใช้ในการทำความสะอาด ซักล้าง มีขนาดใหญ่ แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน มีอายุการใช้งาน